O20 -การประเมินความเสี่ยงต่อการรับสินบน

ส่วนที่ ๑ บทนำ

ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ได้ขับเคลื่อนและกำกับติดตามการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment : ITA ของสถานีตำรวจ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ให้หน่วยงานภาครัฐมีมาตรการ ระบบ หรือแนวทางในการบริหารจัดการความเสี่ยงของการดำเนินงานที่อาจก่อให้เกิดการรับสินบนของเจ้าหน้าที่ในแต่ละสายงาน นั้น
สถานีตำรวจภูธรหนองไผ่ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในจัดการประเมินความเสี่ยงการรับสินบนของเจ้าหน้าที่ และมีแนวทางตามแผนการบริหารความเสี่ยงการรับสินบนของเจ้าหน้าที่ของสถานีตำรวจ อันสอดคล้องกับนโยบายดังกล่าว อาศัยอำนาจตามคำสั่ง สถานีตำรวจภูธรหนองไผ่ ที่ ๒๗๘/๒๕๖๖ ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๖ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการในการขับเคลื่อนและกำกับ ติดตามการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment : ITA ของสถานีตำรวจ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗ เห็นควรให้ หัวหน้างานทุกสายงานในสถานีตำรวจ จัดทำประเมินความเสี่ยงการต่อการรับสินบน และมีแนวทางหรือมาตรการดำเนินการเพื่อป้องกันความเสี่ยงการรับสินบนในแต่ละสายงาน อันเป็นการสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และลดโอกาสการรับสินบนในการปฏิบัติงาน ซึ่งก่อให้เกิดคุณประโยชน์ต่อสถานีตำรวจ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติต่อไป
พันตำรวจเอก
( ฐานุพงศ์ แสงซื่อ )
ผู้กำกับการ สถานีตำรวจภูธรหนองไผ่

ส่วนที่ ๒ การประเมินความเสี่ยงต่อการรับสินบน

พิจารณาจาก ๒ ปัจจัย คือ โอกาสที่จะเกิด ( Likelihood) พิจารณาความเป็นไปได้ที่จะเกิดเหตุการณ์หรือความเสี่ยง และผลกระทบ (Impact) การวัดความรุนแรงของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากความเสี่ยงนั้น
ศัพท์เฉพาะ คำนิยาม
ศัพท์เฉพาะ คำนิยาม
ความเสี่ยงต่อการรับสินบน
( Bribery Risk ) การดำเนินงานหรือการปฏิบัติหน้าที่ที่อาจก่อให้เกิดการรับสินบนในอนาคต
ความเสี่ยง (Risk) ความน่าจะเป็นที่จะเกิดเหตุการณ์บางอย่างซึ่งมีผลกระทบ ทำให้การดำเนินงานไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือเบี่ยงเบนไปจากที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจส่งผลในทางบวกหรือทางลบก็ได้
ผลกระทบทางลบ เรียกว่า ความเสี่ยง
ผลกระทบทางบวก เรียกว่า โอกาส
ความเสี่ยง/ปัญหา ความเสี่ยง : เหตุการณ์ที่ยังไม่เกิด ต้องหามาตรการควบคุม
ปัญหา : เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว รู้อยู่แล้ว ต้องแก้ไขปัญหา เช่น การไม่มีความรู้ความ เข้าใจ คือปัญหา ไม่ใช่ความเสี่ยง เป็นต้น
ประเด็นความเสี่ยงการทุจริต เป็นขั้นตอนในการค้นหาว่ามีรูปแบบความเสี่ยงการทุจริตอย่างไรบ้าง
โอกาส (Likelihood) โอกาสหรือความเป็นไปได้ที่เหตุการณ์จะเกิดขึ้น
ผลกระทบ ( Impact ) ผลกระทบจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งที่เป็นตัวเงินหรือไม่เป็นตัวเงิน
ระดับความรุนแรงของความเสี่ยงต่อการรับสินบน
(Risk Score) คะแนนรวมที่เป็นผลจากการประเมินความเสี่ยงการทุจริตที่เป็นผลจากการประเมินความเสี่ยงการทุจริตจาก ๒ ปัจจัย คือโอกาสเกิด (Likelihood) และ ผลกระทบ (Impact)
ผู้รับผิดชอบความเสี่ยงต่อการรับสินบน (Risk Owner) ผู้ปฏิบัติงานหรือรับผิดชอบกระบวนงานหรือโครงการ

เกณฑ์การประเมินความเสี่ยงการรับสินบน

ตารางที่ ๑ เกณฑ์โอกาสที่จะเกิด (Likelihood)
โอกาสเกิดการทุจริตการรับสินบน (Likelihood)
5 เหตุการณ์อาจเกิดขึ้นได้สูงมาก แต่ไม่เกินร้อยละ (ร้อยละ ๓)
4 เหตุการณ์ที่อาจเกิดได้สูง แต่ไม่เกินร้อยละ (ร้อยละ ๒ )
3 เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นไม่เกิน (ร้อยละ ๑ )
2 เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นไม่เกิน (ร้อยละ ๐.๑ )
1 เหตุการณ์ไม่น่ามีโอกาสเกิดขึ้น (ไม่เกิดขึ้นเลย)

ตารางที่ ๒ เกณฑ์ผลกระทบ (Impact)
ระดับความรุนแรงของผลกระทบ (Impact)
5 กระทบต่องบประมาณและความเชื่อมั่นของสังคมระดับสูงมาก
4 กระทบต่องบประมาณและความเชื่อมั่นของสังคมระดับสูง
3 กระทบต่องบประมาณและความเชื่อมั่นของสังคมระดับปานกลาง
2 กระทบต่องบประมาณและความเชื่อมั่นสังคมระดับต่ำ
1 กระทบต่องบประมาณและความเชื่อมั่นสังคมระดับต่ำมาก

ตารางที่ 3 คะแนนระดับความเสี่ยงการทุจริตการรับสินบน
โอกาสเกิด ผลกระทบ
1 2 3 4 5
5 สูง สูง สูงมาก สูงมาก สูงมาก
4 ปานกลาง สูง สูง สูงมาก สูงมาก
3 ต่ำ ปานกลาง สูง สูง สูงมาก
2 ต่ำ ต่ำ ปานกลาง สูง สูงมาก
1 ต่ำ ต่ำ ปานกลาง สูง สูง

การประเมินความเสี่ยงต่อการรับสินบนของสถานีตำรวจภูธรหนองไผ่

(๑) สายงานอำนวยการ
ลำดับ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ประเด็นความเสี่ยง
ต่อการรับสินบน
(Bribery Risk) ระดับความเสี่ยง Risk Score (L x I )
โอกาส Likelihood ผลกระทบ Impact คะแนนความเสี่ยง Risk Score
1.1 กระบวนการ : การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน
1 ผู้บังคับบัญชาพิจารณาการเลื่อนขั้นเงินเดือนของผู้ใต้บังคับบัญชา ตามผลการปฏิบัติราชการ ปีละ 2 ครั้ง (6 เดือน/ 12 เดือน) ผู้บังคับบัญชามีการรับสินบนเพื่อพิจารณาความดีความชอบในการเลื่อนขั้นเงินเดือนของผู้ใต้บังคับบัญชา ๕ ๓ ๑๕
(สูงมาก)
1.2 กระบวนการ : การบริหารจัดการเรื่องร้องเรียน
1 เสนอเรื่องตรวจสอบข้อเท็จจริง คณะกรรมการหรือผู้ตรวจสอบรับสินบนจากผู้ถูกร้องเรียนเพื่อให้ยุติเรื่อง ๒ ๔ ๑๒
(สูง)
2 กรณีมีหลักฐานพบว่ามีการกระทำความผิดตามที่ถูกร้องเรียน ผู้พิจารณาจะเสนอให้ผู้บังคับบัญชาสั่งการลงโทษตามระเบียบ คณะกรรมการหรือผู้ตรวจสอบรับสินบน เพื่อพิจารณาประเด็นให้การช่วยเหลือผู้ถูกร้องเรียนไม่ให้ได้รับโทษ ๒ ๔ ๑๒
(สูง)
1.3 กระบวนการ : การเบิกจ่ายเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ
1 ตรวจสอบหลักฐานการเบิก จ่ายเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ ตามวงรอบ การเบิกจ่าย ผู้ตรวจสอบรับสินบนจากเจ้าหน้าที่ผู้ขอเบิกเงิน จากกรณีตรวจสอบเอกสารหลักฐานการเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่ไม่ถูกต้อง ๒ ๕ ๑๐
(สูงมาก)
1.4 กระบวนการ : การรับและแจกจ่ายพัสดุ
1 เจ้าหน้าที่พัสดุนำพัสดุมาแจกจ่ายให้แต่ละฝ่ายในสังกัดตามความต้องการที่เสนอขอ เจ้าหน้าที่พัสดุรับสินบนจากเจ้าหน้าที่ผู้มาขอเบิกพัสดุ ทำให้การจัดสรรแจกจ่ายพัสดุให้ แต่ละฝ่ายไม่เท่าเทียมกันตามความต้องการที่เสนอขอ

๓ ๔ ๑๒
(สูง)
ลำดับ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ประเด็นความเสี่ยง
ต่อการรับสินบน
(Bribery Risk) ระดับความเสี่ยง Risk Score (L x I )
โอกาส Likelihood ผลกระทบ Impact คะแนนความเสี่ยง Risk Score
1.5 กระบวนการ : การจัดซื้อจัดจ้าง
1 การจัดทำและประกาศการจัดซื้อจัดจ้าง การรับสินบนที่ผู้ประกอบการเสนอให้เพื่อแลกกับการปกปิดข้อมูลเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ประกอบการบางกลุ่ม ๓ ๓ ๙
(สูง)

การประเมินความเสี่ยงต่อการรับสินบนของสถานีตำรวจภูธรหนองไผ่

(2) สายงานป้องกันปราบปราม
ลำดับ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ประเด็นความเสี่ยง
ต่อการรับสินบน
(Bribery Risk) ระดับความเสี่ยง Risk Score (L x I )
โอกาส Likelihood ผลกระทบ Impact คะแนนความเสี่ยง Risk Score
กระบวนการ : การจับกุมและบังคับใช้กฎหมาย
1 การใช้อำนาจหน้าที่ในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม มีการเรียกรับสินบนหรือผลประโยชน์อื่นใด เพื่อแลกกับการไม่จับกุมดำเนินคดี หรือทำให้ได้รับโทษน้อยลง ๓ ๕ ๑๕
(สูงมาก)
2 การตรวจค้น จับกุม เช่น จุดตรวจค้นป้องกันปราบปรามอาชญากรรม การตรวจค้นยา เสพติด สิ่งของผิดกฎหมาย มีการเรียกรับสินบนหรือผลประโยชน์อื่นใด เพื่อแลกกับการไม่จับกุมดำเนินคดี หรือทำให้ได้รับโทษน้อยลง ๓ ๕ ๑๕
(สูงมาก)
3 การลงบันทึกการจับกุมและนำตัวผู้ต้องหาส่งพนักงานสอบสวน มีการเรียกรับสินบนหรือผลประโยชน์อื่นใด เพื่อแลกกับการไม่จับกุมดำเนินคดี หรือทำให้ได้รับโทษน้อยลง ๓ ๕ ๑๕
(สูงมาก)
4 การตรวจสอบใบอนุญาตของแรงงานต่างด้าวว่ามีการลักลอบหลบหนีเข้าเมืองมาอย่างผิดกฎหมายหรือไม่ มีการเรียกรับสินบนหรือผลประโยชน์อื่นใด เพื่อแลกกับการไม่จับกุมดำเนินคดี หรือทำให้ได้รับโทษน้อยลง หรือต่อรองเพื่อไม่ส่งตัวแรงงานต่างด้าวส่งกลับประเทศต้นทาง ๓ ๕ ๑๕
(สูงมาก)

การประเมินความเสี่ยงต่อการรับสินบนของสถานีตำรวจภูธรหนองไผ่

(3) สายงานสอบสวน
ลำดับ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ประเด็นความเสี่ยง
ต่อการรับสินบน
(Bribery Risk) ระดับความเสี่ยง Risk Score (L x I )
โอกาส Likelihood ผลกระทบ Impact คะแนนความเสี่ยง Risk Score
กระบวนการ : การอำนวยความยุติธรรม
1 การทำสำนวนในคดีอาญา -จราจร การเรียกรับสินบน เพื่อบิดเบือนข้อเท็จจริง ช่วยเหลือผู้ต้องหา ๑ ๕ ๕
(สูง)
2 ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ต่อพนักงานสอบสวน การเรียกรับสินบน เพื่ออำนวยความสะดวก ๓ ๓ ๙
(สูง)
๓ สอบสวนปากคําผู้ต้องหาเพื่อ
ทราบรายละเอียดแห่ง
ความผิด การประวิงเวลาในการสอบสวน
เพื่อให้ผู้ต้องหาเสนอสินบนเป็นการตอบแทน ๑ ๕ ๕
(สูง)
๔ สอบสวนปากคําผู้ต้องหาเพื่อ
ทราบรายละเอียดแห่ง
ความผิด สอบสวนบิดเบือนหรือแจ้งข้อเท็จจริงให้หนักกว่าข้อกล่าวหา เพื่อให้ผู้ต้องหาเสนอสินบน ๒ ๕ ๑๐
(สูงมาก)
๕ สอบสวนปากคําผู้ต้องหาเพื่อ
ทราบรายละเอียดแห่ง
ความผิด การไม่รวบรวมพยานหลักฐานให้แน่นหนา เพื่อแลกกับการรับสินบนจากผู้ต้องหา ๒ ๕ ๑๐
(สูงมาก)

การประเมินความเสี่ยงต่อการรับสินบนของสถานีตำรวจภูธรหนองไผ่

(4) สายงานสืบสวน
ลำดับ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ประเด็นความเสี่ยง
ต่อการรับสินบน
(Bribery Risk) ระดับความเสี่ยง Risk Score (L x I )
โอกาส Likelihood ผลกระทบ Impact คะแนนความเสี่ยง Risk Score
กระบวนการ : การบังคับใช้กฎหมายด้านการสืบสวนคดีอาญา
1 การจับกุมความผิดซึ่งหน้า และตามหมายจับ การเสนอและรับสินบนจากผู้ต้องหา เพื่อแลกกับการไม่ถูกจับกุม ๒ ๕ ๑๐
(สูงมาก)
2 ลงบันทึกการจับกุม การเสนอและรับสินบนจากผู้ต้องหา เพื่อแลกกับการไม่ถูกจับกุม หรือข้อหาที่มีโทษน้อยลง ๒ ๕ ๑๐
(สูงมาก)
3 นำส่งพนักงานสอบสวน การเสนอและรับสินบนจากผู้ต้องหา เพื่อแลกกับการไม่ถูกนำตัวส่งดำเนินคดี ๒ ๕ ๑๐
(สูงมาก)

การประเมินความเสี่ยงต่อการรับสินบนของสถานีตำรวจภูธรหนองไผ่

(5) สายงานจราจร
ลำดับ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ประเด็นความเสี่ยง
ต่อการรับสินบน
(Bribery Risk) ระดับความเสี่ยง Risk Score (L x I )
โอกาส Likelihood ผลกระทบ Impact คะแนนความเสี่ยง Risk Score
กระบวนการ : การบังคับใช้กฎหมายจับกุมผู้กระทำความผิดกฎหมายจราจร
1 เจ้าหน้าที่ตํารวจจราจรออกกวดขันวินัยจราจร พบการกระทําผิดและจับกุมผู้กระทําผิดกฎหมายจราจร การเสนอและรับสินบนจากผู้กระทำความผิด เพื่อแลกกับการไม่ถูกจับกุม หรือออกใบสั่งบริเวณจุดพบการกระทำผิด ๓ ๕ ๑๕
(สูงมาก)
2 เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรออกกวดขันการกระทำผิดที่จุดตรวจ การเสนอและรับสินบนจากผู้กระทำความผิด เพื่อแลกกับการไม่ถูกจับกุม หรือออกใบสั่งบริเวณจุดตรวจ ๓ ๕ ๑๕
(สูงมาก)
๓ การเปรียบเทียบปรับ เสนอรับสินบนเพื่อแลกกับการเปลี่ยนโทษปรับให้น้อยลง ๓ ๔ ๑๒
(สูง)

แผนบริหารจัดการความเสี่ยงต่อการรับสินบน
สถานีตำรวจภูธรหนองไผ่

ในการจัดทำแผนบริหารจัดการความเสี่ยงต่อการรับสินบนพิจารณาความเสี่ยงต่อการรับสินบนที่อยู่ในโชนสีแดง (Red Zone) ของทุกสายงานจะถูกเลือกมาทำแผนบริหารจัดการความเสี่ยงต่อการรับสินบน ส่วนลำดับความเสี่ยงที่อยู่ในโซนสีส้ม สีเหลือง จะถูกเลือกในลำดับต่อมา มาตรการควบคุมความเสี่ยงการรับสินบนอาจมีหลากหลายวิธีการ ซึ่งหน่วยงานควรทำการคัดเลือกวิธีที่ดีที่สุดและประเมินความคุ้มค่า เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงการรับสินบนที่ได้จากการประเมินมาประกอบด้วย
การจัดทำแผนบริหารจัดการความเสี่ยงต่อการรับสินบน ให้นำมาตรการควบคุมความเสี่ยงต่อการรับสินบนของกระบวนงานหรือโครงการที่ทำการประเมินของหน่วยงานที่มีอยู่ในปัจจุบัน (Key Controls in place) มาทำการประเมินว่ามีประสิทธิภาพอยู่ในระดับใด ดี พอใช้ หรืออ่อน (ดูคำอธิบายเพิ่มเติม) เพื่อพิจารณาจัดทำมาตรการควบคุมความเสี่ยงการรับสินบนเพิ่มเติมต่อไป

ระดับ คำอธิบาย
การประเมินประสิทธิภาพมาตรการควบคุมความเสี่ยงการรับสินบน
ที่หน่วยงานมีในปัจจุบัน
ดี การควบคุมมีความเข้มแข็งและดำเนินไปได้อย่างเหมาะสมซึ่งช่วยให้เกิดความมั่นใจได้ในระดับ ที่สมเหตุสมผล ว่าจะสามารถลดความเสี่ยงการรับสินบนได้
พอใช้ การควบคุมยังขาดประสิทธิภาพถึงแม้ว่าจะไม่ทำให้เกิดผลเสียหายจากความเสี่ยงอย่างมี นัยสำคัญ แต่ก็ควรมี การปรับปรุงเพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถลดความเสี่ยงการรับสินบนได้
อ่อน การควบคุมไม่ได้มาตรฐานที่ยอมรับได้เนื่องจากมีความหละหลวมและไม่มีประสิทธิผลการ ควบคุมไม่ทำให้ มั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่าจะสามารถลดความเสี่ยงการรับสินบนได้

คำสั่ง สถานีตำรวจภูธรหนองไผ่
ที่ ๔๗๘ / 256๖

เรื่อง คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนและกำกับติดตาม การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการ
ดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment: ITA) ของสถานี
ตำรวจนครบาล/สถานีตำรวจภูธร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของสถานีตำรวจภูธรหนองไผ่
ด้วย ตำรวจภูธรจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้มีคำสั่งที่ ๒๔๑/256๖ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม 256๖ เรื่อง คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนและกำกับติดตาม การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment: ITA) ของสถานีตำรวจนครบาล/สถานีตำรวจภูธรประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมีหน้าที่และอำนาจตามตวามในข้อ ๔ พิจารณาเสนอแต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสถานีตำรวจ ในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดเพชรบูรณ์ และในการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสถานีตำรวจ ในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดเพชรบูรณ์ ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม 256๖ มีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสถานีตำรวจ ในระดับสถานี เพื่อให้การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสถานีตำรวจ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และบรรลุเป้าประสงค์ตามที่กำหนดไว้
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานตามคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนและกำกับติดตาม การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment: ITA) ของสถานีตำรวจนครบาล/สถานีตำรวจภูธร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของตำรวจภูธรจังหวัดเพชรบูรณ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลสูงสุด จึงแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment: ITA) ของสถานีตำรวจนครบาล/สถานีตำรวจภูธร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของสถานีตำรวจภูธรหนองไผ่ โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
องค์ประกอบ
1. พันตำรวจเอก ฐานุพงศ์ แสงซื่อ ผู้กำกับการ ประธานกรรมการ
๒. พันตำรวจโท วัตร โฉมคำ รองผู้กำกับการป้องกันปราบปราม กรรมการ
๓. พันตำรวจโท เชาว์ลิต จันทร์บ้านคลอง รองผู้กำกับการสืบสวน กรรมการ
๔. พันตำรวจโท สนอง กุญชร รองผู้กำกับการสอบสวน กรรมการ
๕. พันตำรวจโท พิเชษฐ์ ดารุณิกร สารวัตรป้องกันปราบปราม กรรมการ
๖. พันตำรวจโท ศรายุทธ หนูคุ้มทรัพย์ สารวัตรสืบสวน กรรมการ
– ๒ –

๗. พันตำรวจโท ณรงค์ฤทธิ์ ลิคูณ สารวัตรสอบสวน กรรมการ
๘. พันตำรวจตรี สุชาติ บุญมา สารวัตรป้องกันปราบปราม กรรมการ
๙. พันตำรวจตรี ปรเมษฐ์ ชาตรี สารวัตรสอบสวน กรรมการ
๑๐. พันตำรวจโท ภูวดล ทองดี สารวัตรอำนวยการ กรรมการและเลขานุการ
๑๑. ร้อยตำรวจตรี ธีระชาติ ขัตติยะ กรรมการ
๑๒. ร้อยตำรวจตรี กมล จิตอารี กรรมการ
๑๓. ร้อยตำรวจตรี ทักเทพ ทองเรียนรัตนะ กรรมการ/ผู้ช่วยเลขานุการ
๑๔. ดาบตำรวจ สง่า พิมสิงห์ กรรมการ
๑๕. ดาบตำรวจ (หญิง) จารุรัตน์ สงนุ้ย กรรมการ
๑๖. ดาบตำรวจ สันติชัย ลุนทา กรรมการ
๑๗. จ่าสิบตำรวจ เสกสรรค์ มาคำ กรรมการ
๑๘. จ่าสิบตำรวจ สุธีทร ชนรักสุข กรรมการ

โดยมีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้
1. ขับเคลื่อนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสถานีตำรวจภูธรหนองไผ่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ให้เป็นตามวัตถุประสงค์ที่สำนักงาน ป.ป.ช. กำหนด
2. กำกับ ติดตาม เร่งรัด ให้การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
ของสถานีตำรวจภูธรหนองไผ่ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และกรอบระยะเวลาที่ สำนักงาน ป.ป.ช. กำหนด
3. ให้ข้อเสนอแนะการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาแนวทางการประเมินคุณธรรม
และความโปร่งใสในการดำเนินงานของสถานีตำรวจภูธรหนองไผ่
4. พิจารณาเสนอแต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสถานีตำรวจภูธรหนองไผ่
5. ดำเนินการอื่นใดตามที่ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรหนองไผ่ มอบหมาย
ทั้งนี้ คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนและกำกับติดตาม การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment: ITA) ของสถานีตำรวจนครบาล/สถานีตำรวจภูธรประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของสถานีตำรวจภูธรหนองไผ่ มีวาระการปฏิบัติหน้าที่จนถึง 30 กันยายน 2567 หรือมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๖

พันตำรวจเอก
( ฐานุพงศ์ แสงซื่อ )
ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรหนองไผ่

แผนบริหารจัดการความเสี่ยงต่อการรับสินบนของสถานีตำรวจภูธรหนองไผ่
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗

ในการจัดทำแผนบริหารจัดการความเสี่ยงกต่อการรับสินบน ได้มีการวิเคราะห์ประเด็นความเสี่ยง และพิจารณาความเสี่ยงต่อการรับสินบนที่อยู่ในโชนสีแดง (Red Zone) ของทุกสายงานจะถูกเลือกนำมาจัดทำแผนบริหารจัดการความเสี่ยงต่อการรับสินบน ส่วนลำดับความเสี่ยงที่อยู่ในโซนสีส้ม สีเหลือง จะถูกเลือกในลำดับต่อมา มาตรการควบคุมความเสี่ยงการทุจริตอาจมีหลากหลายวิธีการ หน่วยงานควรทำการคัดเลือกวิธีที่ดีที่สุด และประเมินความคุ้มค่าเหมาะสมกับระดับความเสี่ยงการทุจริตที่ได้จากการประเมินมาประกอบด้วย
การจัดทำแผนบริหารจัดการความเสี่ยงต่อการรับสินบน ให้นำมาตรการควบคุมความเสี่ยงการรับสินบนของกระบวนงานหรือโครงการที่ทำการประเมินของหน่วยงานที่มีอยู่ในปัจจุบัน (Key Controls in place) มาทำการประเมินว่ามีประสิทธิภาพอยู่ในระดับใด ดี พอใช้ หรืออ่อน (ดูคำอธิบายเพิ่มเติม) เพื่อพิจารณาจัดทำมาตรการควบคุมความเสี่ยงต่อการรับสินบนเพิ่มเติม (Further Actions to be Taken)

ที่ งาน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ประเด็นความเสี่ยงต่อการรับสินบน Risk Score รายละเอียดมาตรการควบคุมความเสี่ยงการรับสินบน วิธีดำเนินการ ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ
๑ อำนวยการ ผู้บังคับบัญชาพิจารณาการเลื่อนขั้นเงินเดือนของผู้ใต้บังคับบัญชา ตามผลการปฏิบัติราชการ ปีละ 2 ครั้ง (6 เดือน/ 12 เดือน) ผู้บังคับบัญชามีการรับสินบนเพื่อพิจารณาความดีความชอบในการเลื่อนขั้นเงินเดือนของผู้ใต้บังคับบัญชา ๑๕
(สูงมาก) ๑.กำกับดูแลการปฏิบัติงาน โดยมีการตรวจสอบตามสายงานการบังคับบัญชาทุกขั้นตอน เพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างในการเรียกรับสินบน ผลประโยชน์
๒.อบรมกำชับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างจิตสำนึกในการปฏิบัติงาน
๓.การพิจารณาความดีความชอบให้ปฏิบัติตามระเบียบทางด้านกำลังพล
๔.เพิ่มช่องทางการแจ้งเบาะแสร้องเรียนต่อหัวหน้าสถานี ๑.ผู้บังคับบัญชามีการอบรมกำชับการปฏิบัติหน้าที่เป็นประจำ
๒ .ตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างสม่ำเสมอ
๓.มีการตั้งคณะกรรมการในการพิจารณาความดีความชอบ โดยใช้หลักการพิจารณาตามระเบียบทางด้านกำลังพล
๔. มีการเพิ่มช่องทางการร้องเรียนทั้งในช่องทางเอกสาร และWebsite ตลอดปีงบ
ประมาณ ผู้กำกับการ
หัวหน้าสายงานทุกสายงาน
ตรวจสอบหลักฐานการเบิก จ่ายเงินงบประมาณ และเงินนอกงบประมาณ ตามวงรอบการเบิกจ่าย ผู้ตรวจสอบรับสินบนจากเจ้าหน้าที่ผู้ขอเบิกเงิน จากกรณีตรวจสอบเอกสารหลักฐานการเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่ไม่ถูกต้อง ๑๐
(สูงมาก) ๑.ผู้บังคับบัญชาอบรมให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายอำนวยการได้เคร่งครัดต่อการเบิกจ่ายเงินงบประมาณตามระเบียบอย่างเคร่งครัด
๒. มีการชี้แจงการเบิกจ่ายเงินงบประมาณให้ที่ประชุมบริหารรับทราบทุกครั้ง
๓.ระบบการตรวจสอบเอกสารการเบิกจ่ายจะต้องเป็นเอกสารที่ถูกต้องตามระเบียบ ๑.มีการอบรมชี้แจงให้ข้าราชการตำรวจได้ทราบแนวทางการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามระเบียบอย่างถูกต้อง
๒.นำข้อมูลการได้รับงบประมาณ และการเบิกจ่ายงบประมาณแจ้งให้ที่ประชุมบริหารทราบทุกเดือน
๓.ผู้บังคับบัญชามีการกำชับการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ฝ่ายอำนวยการให้จ่ายเงินงบประมาณ และเงินนอกงบประมาณ ตามวงรอบการเบิกจ่ายด้วยเอกสารที่ถูกต้องอย่างเคร่งครัด ตลอดปีงบ
ประมาณ สารวัตรอำนวยการ
ที่ งาน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ประเด็นความเสี่ยงต่อการรับสินบน Risk Score รายละเอียดมาตรการควบคุมความเสี่ยงการรับสินบน วิธีดำเนินการ ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ
๒ ป้องกันปราบปราม การใช้อำนาจหน้าที่ในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม มีการเรียกรับสินบนหรือผลประโยชน์อื่นใด เพื่อแลกกับการไม่จับกุมดำเนินคดี หรือทำให้ได้รับโทษน้อยลง ๑๕
(สูงมาก) ๑.อบรม กำชับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ไม่ให้เรียกรับสินบน ทรัพย์สินหรือ ประโยชน์อื่นใดเพื่อช่วยเหลือ ผู้กระทำผิด
๒.จัดหาสวัสดิการเพิ่มเติมเพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่
๓. เสริมสร้างการควบคุมดูแล ผู้ใต้บังคับบัญชา ตามคำสั่ง ๑๒๑๒/๒๕๓๗
๔.มีช่องทางการร้องเรียนไปยังหัวหน้าสถานีได้
๕.ผู้บังคับบัญชาออกสุ่มตรวจการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตามวงรอบ ๑.ผู้บังคับบัญชามีการอบรมชี้แจงเจ้าหน้าที่ในสายงานมิให้มีการเรียกรับสินบนจากการปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัด
๒.มีมาตรการควบคุมกำกับดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา ตามคำสั่ง ตร.ที่ ๑๒๑๒/๒๕๓๗ อย่างใกล้ชิด
๓.จัดหาสวัสดิการให้แก่ข้าราชการตำรวจเพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการปฏิบัติ
๔.มีการเพิ่มช่องทางการร้องเรียนทั้งในช่องทางเอกสาร และWebsite
๕.ผู้บังคับบัญชาออกสุ่มตรวจการปฏิบัติงานในผลัดตามวงรอบที่เหมาะสมอยู่เสมอ

ตลอดปีงบ
ประมาณ รองผู้กำกับการป้องกันปราบปราม
การตรวจค้น จับกุม เช่น จุดตรวจค้นป้องกันปราบปรามอาชญากรรม การตรวจค้นยาเสพติด สิ่งของผิดกฎหมาย มีการเรียกรับสินบนหรือผลประโยชน์อื่นใด เพื่อแลกกับการไม่จับกุมดำเนินคดี หรือทำให้ได้รับโทษน้อยลง ๑๕
(สูงมาก) ๑.อบรม กำชับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ไม่ให้เรียกรับสินบน ทรัพย์สินหรือ ประโยชน์อื่นใดเพื่อช่วยเหลือ ผู้กระทำผิด
๒.จัดหาสวัสดิการเพิ่มเติมเพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่
๓. เสริมสร้างการควบคุมดูแล ผู้ใต้บังคับบัญชา ตามคำสั่ง ๑๒๑๒/๒๕๓๗
๔.มีช่องทางการร้องเรียนไปยังหัวหน้าสถานีได้
๕.ผู้บังคับบัญชาออกตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บริเวณจุดตรวจตามวงรอบ ๑.ผู้บังคับบัญชามีการอบรมชี้แจงเจ้าหน้าที่ในสายงานมิให้มีการเรียบรรับสินบนจากการปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัด
๒.มีมาตรการควบคุมกำกับดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา ตามคำสั่ง ตร.ที่ ๑๒๑๒/๒๕๓๗ อย่างใกล้ชิด
๓.จัดหาสวัสดิการให้แก่ข้าราชการตำรวจเพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการปฏิบัติ
๔.มีการเพิ่มช่องทางการร้องเรียนทั้งในช่องทางเอกสาร และWebsite
๕.ผู้บังคับบัญชาออกตรวจสอบการปฏิบัติงานบริเวณจุดตรวจตามวงรอบที่เหมาะสม ตลอดปีงบ
ประมาณ รองผู้กำกับการป้องกันปราบปราม
การลงบันทึกการจับกุมและนำตัวผู้ต้องหาส่งพนักงานสอบสวน มีการเรียกรับสินบนหรือผลประโยชน์อื่นใด เพื่อแลกกับการไม่จับกุมดำเนินคดี หรือทำให้ได้รับโทษน้อยลง ๑๕
(สูงมาก) ๑.อบรม กำชับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ไม่ให้เรียกรับสินบน ทรัพย์สินหรือ ประโยชน์อื่นใดเพื่อช่วยเหลือ ผู้กระทำผิด
๒.จัดหาสวัสดิการเพิ่มเติมเพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่
๓. เสริมสร้างการควบคุมดูแล ผู้ใต้บังคับบัญชา ตามคำสั่ง ๑๒๑๒/๒๕๓๗
๔.มีช่องทางการร้องเรียนไปยังหัวหน้าสถานีได้
๕.ผู้บังคับบัญชามีการตรวจสอบผลการปฏิบัติเป็นประจำ
๑.ผู้บังคับบัญชามีการอบรมชี้แจงเจ้าหน้าที่ในสายงานมิให้มีการเรียบรรับสินบนจากการปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัด
๒.มีมาตรการควบคุมกำกับดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา ตามคำสั่ง ตร.ที่ ๑๒๑๒/๒๕๓๗ อย่างใกล้ชิด
๓.จัดหาสวัสดิการให้แก่ข้าราชการตำรวจเพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการปฏิบัติ
๔.มีการเพิ่มช่องทางการร้องเรียนทั้งในช่องทางเอกสาร และWebsite
๕.ผู้บังคับบัญชามีการตรวจสอบผลการปฏิบัติงานในแต่ละผลัดตามวงรอบอยู่เสมอ ตลอดปีงบ
ประมาณ รองผู้กำกับการป้องกันปราบปราม
ที่ งาน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ประเด็นความเสี่ยงต่อการรับสินบน Risk Score รายละเอียดมาตรการควบคุมความเสี่ยงการรับสินบน วิธีดำเนินการ ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ
การตรวจสอบใบอนุญาตของแรงงานต่างด้าวว่ามีการลักลอบหลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายหรือไม่ มีการเรียกรับสินบนหรือผลประโยชน์อื่นใด เพื่อแลกกับการไม่จับกุมดำเนินคดี หรือทำให้ได้รับโทษน้อยลง หรือต่อรองเพื่อไม่ส่งตัวแรงงานต่างด้าวส่งกลับประเทศต้นทาง ๑๕
(สูงมาก) ๑.อบรม กำชับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ปฏิบัติ ตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ไม่ให้เรียกรับสินบน ทรัพย์สินหรือ ประโยชน์อื่นใดเพื่อช่วยเหลือ ผู้กระทำผิด
๒.จัดหาสวัสดิการเพิ่มเติมเพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่
๓. เสริมสร้างการควบคุมดูแล ผู้ใต้บังคับบัญชา ตามคำสั่ง ๑๒๑๒/๒๕๓๗
๔.มีช่องทางการร้องเรียนไปยังหัวหน้าสถานีได้
๕.ผู้บังคับบัญชาออกสุ่มตรวจการปฏิบัติงานเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวในพื้นที่ ๑.ผู้บังคับบัญชามีการอบรมชี้แจงเจ้าหน้าที่ในสายงานมิให้มีการเรียบรรับสินบนจากการปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัด
๒.มีมาตรการควบคุมกำกับดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา ตามคำสั่ง ตร.ที่ ๑๒๑๒/๒๕๓๗ อย่างใกล้ชิด
๓.จัดหาสวัสดิการให้แก่ข้าราชการตำรวจเพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการปฏิบัติ
๔.มีการเพิ่มช่องทางการร้องเรียนทั้งในช่องทางเอกสาร และWebsite
๕.ผู้บังคับบัญชาออกตรวจพื้นที่รับผิดชอบ และสุ่มตรวจผลการปฏิบัติงานเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว ตลอดปีงบ
ประมาณ รองผู้กำกับการป้องกันปราบปราม
๓ สอบสวน สอบสวนปากคําผู้ต้องหาเพื่อทราบรายละเอียดแห่งความผิด สอบสวนบิดเบือนหรือแจ้งข้อเท็จจริงให้หนักกว่าข้อกล่าวหา เพื่อให้ผู้ต้องหาเสนอสินบน ๑๐
(สูงมาก) ๑.อบรม กำชับการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวนให้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ไม่ให้เรียกรับสินบน ทรัพย์สินหรือ ประโยชน์อื่นใดเพื่อช่วยเหลือ ผู้กระทำผิด
๒.จัดหาสวัสดิการเพิ่มเติมเพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่
๓. เสริมสร้างการควบคุมดูแล ผู้ใต้บังคับบัญชา ตามคำสั่ง ๑๒๑๒/๒๕๓๗
๔.มีช่องทางการร้องเรียนไปยังหัวหน้าสถานีได้
๕.ผู้บังคับบัญชามีการตรวจสำนวนการสอบสวนตามวงรอบ
๖.อบรมกำชับพนักงานสอบสวนให้ปฏิบัติตามคำสั่ง ตร.ที่ ๔๑๙/๒๕๕๖

๑.ผู้บังคับบัญชามีการอบรมชี้แจงเจ้าหน้าที่ในสายงานมิให้มีการเรียกรับสินบนจากการปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัด
๒.มีมาตรการควบคุมกำกับดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา ตามคำสั่ง ตร.ที่ ๑๒๑๒/๒๕๓๗ อย่างใกล้ชิด
๓.จัดหาสวัสดิการให้แก่ข้าราชการตำรวจเพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการปฏิบัติ
๔.มีการเพิ่มช่องทางการร้องเรียนทั้งในช่องทางเอกสาร และWebsite
๕.ผู้บังคับบัญชาตรวจสำนวนการสอบสวนตามวงรอบ ตลอดปีงบ
ประมาณ รองผู้กำกับการสอบสวน
ที่ งาน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ประเด็นความเสี่ยงต่อการรับสินบน Risk Score รายละเอียดมาตรการควบคุมความเสี่ยงการรับสินบน วิธีดำเนินการ ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ
สอบสวนปากคําผู้ต้องหาเพื่อทราบรายละเอียดแห่งความผิด การไม่รวบรวมพยานหลักฐานให้แน่นหนา เพื่อแลกกับการรับสินบนจากผู้ต้องหา ๑๐
(สูงมาก) ๑.อบรม กำชับการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวนให้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ไม่ให้เรียกรับสินบน ทรัพย์สินหรือ ประโยชน์อื่นใดเพื่อช่วยเหลือ ผู้กระทำผิด
๒.จัดหาสวัสดิการเพิ่มเติมเพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่
๓. เสริมสร้างการควบคุมดูแล ผู้ใต้บังคับบัญชา ตามคำสั่ง ๑๒๑๒/๒๕๓๗
๔.มีช่องทางการร้องเรียนไปยังหัวหน้าสถานีได้
๕.ผู้บังคับบัญชามีการตรวจสำนวนการสอบสวนตามวงรอบ
๖.อบรมกำชับพนักงานสอบสวนให้ปฏิบัติตามคำสั่ง ตร.ที่ ๔๑๙/๒๕๕๖ ๑.ผู้บังคับบัญชามีการอบรมชี้แจงเจ้าหน้าที่ในสายงานมิให้มีการเรียกรับสินบนจากการปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัด
๒.มีมาตรการควบคุมกำกับดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา ตามคำสั่ง ตร.ที่ ๑๒๑๒/๒๕๓๗ อย่างใกล้ชิด
๓.จัดหาสวัสดิการให้แก่ข้าราชการตำรวจเพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการปฏิบัติ
๔.มีการเพิ่มช่องทางการร้องเรียนทั้งในช่องทางเอกสาร และWebsite
๕.ผู้บังคับบัญชาตรวจสำนวนการสอบสวนตามวงรอบ ตลอดปีงบ
ประมาณ รองผู้กำกับการสอบสวน
๔ สืบสวน การจับกุมความผิดซึ่งหน้า และตามหมายจับ การเสนอและรับสินบนจากผู้ต้องหา เพื่อแลกกับการไม่ถูกจับกุม ๑๐
(สูงมาก) 1.ออกคําสั่งมาตรการควบคุมและเสริมสร้างความประพฤติและวินัย
ข้าราชการตํารวจตามคําสั่ง ตร.ที่1212/2537
2.แบ่งมอบหน้าที่รับผิดชอบของผู้ปฏิบัติอย่างชัดเจน
3.รอง ผกก.สส.ฯ/สว.สส.ฯ ควบคุมการปฏิบัติในทุกขั้นตอน
4.มีการรายงานผลการจับกุมต่อผู้บังคับบัญชาทุกครั้งและหน่วยเหนือตามระเบียบ
๕.มีช่องทางรับเรื่องร้องเรียนโดยตรงต่อ ผกก. 1.ผู้บังคับบัญชามีการอบรมชี้แจงเจ้าหน้าที่ในสายงานมิให้มีการเรียกรับสินบนจากการปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัด
๒.มีมาตรการควบคุมกำกับดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา ตามคำสั่ง ตร.ที่ ๑๒๑๒/๒๕๓๗ อย่างใกล้ชิด
๓.งานสืบสวน ออกคําสั่งกําชับการปฏิบัติ มอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติให้ชัดเจน ตรวจสอบได้
๔.รอง ผกก.สส.ฯ อบรมชี้แจงข้าราชการฝ่ายสืบสวนให้ปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบข้อบังคับและประมวลจริยธรรมฯ
๕.มีการรายงานผลการปฏิบัติต่อช่องทางการรายงานทุกครั้ง
๖. มีการเพิ่มช่องทางการร้องเรียนทั้งในช่องทางเอกสาร และWebsite

ตลอดปีงบ
ประมาณ รองผู้กำกับการสืบสวน
ที่ งาน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ประเด็นความเสี่ยงต่อการรับสินบน Risk Score รายละเอียดมาตรการควบคุมความเสี่ยงการรับสินบน วิธีดำเนินการ ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ
ลงบันทึกการจับกุม การเสนอและรับสินบนจากผู้ต้องหา เพื่อแลกกับการไม่ถูกจับกุม หรือข้อหาที่มีโทษน้อยลง ๑๐
(สูงมาก) 1.ออกคําสั่งมาตรการควบคุมและเสริมสร้างความประพฤติและวินัย
ข้าราชการตํารวจตามคําสั่ง ตร.ที่1212/2537
2.แบ่งมอบหน้าที่รับผิดชอบของผู้ปฏิบัติอย่างชัดเจน
3.รอง ผกก.สส.ฯ/สว.สส.ฯ ควบคุมการปฏิบัติในทุกขั้นตอน
4.มีการรายงานผลการจับกุมต่อผู้บังคับบัญชาทุกครั้งและหน่วยเหนือตามระเบียบ
๕.มีช่องทางรับเรื่องร้องเรียนโดยตรงต่อ ผกก.
๖.ผู้บังคับบัญชารับทราบผลการปฏิบัติและติดตามผลการส่งดำเนินคดีให้พนักงานสอบสวนทุกครั้ง 1.ผู้บังคับบัญชามีการอบรมชี้แจงเจ้าหน้าที่ในสายงานมิให้มีการเรียกรับสินบนจากการปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัด
๒.มีมาตรการควบคุมกำกับดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา ตามคำสั่ง ตร.ที่ ๑๒๑๒/๒๕๓๗ อย่างใกล้ชิด
๓.งานสืบสวน ออกคําสั่งกําชับการปฏิบัติ มอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติให้ชัดเจน ตรวจสอบได้
๔.รอง ผกก.สส.ฯ อบรมชี้แจงข้าราชการฝ่ายสืบสวนให้ปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบข้อบังคับและประมวลจริยธรรมฯ
๕.มีการรายงานผลการปฏิบัติต่อช่องทางการรายงานทุกครั้ง
๖. มีการเพิ่มช่องทางการร้องเรียนทั้งในช่องทางเอกสาร และWebsite
๗.มีการติดตามผลการส่งดำเนินคดีให้พนักงานสอบสวนทุกครั้ง ตลอดปีงบ
ประมาณ รองผู้กำกับการสืบสวน
นำส่งพนักงานสอบสวน การเสนอและรับสินบนจากผู้ต้องหา เพื่อแลกกับการไม่ถูกนำตัวส่งดำเนินคดี ๑๐
(สูงมาก) 1.ออกคําสั่งมาตรการควบคุมและเสริมสร้างความประพฤติและวินัย
ข้าราชการตํารวจตามคําสั่ง ตร.ที่1212/2537
2.แบ่งมอบหน้าที่รับผิดชอบของผู้ปฏิบัติอย่างชัดเจน
3.รอง ผกก.สส.ฯ/สว.สส.ฯ ควบคุมการปฏิบัติในทุกขั้นตอน
4.มีการรายงานผลการจับกุมต่อผู้บังคับบัญชาทุกครั้งและหน่วยเหนือตามระเบียบ
๕.มีช่องทางรับเรื่องร้องเรียนโดยตรงต่อ ผกก.
๖.ผู้บังคับบัญชารับทราบผลการปฏิบัติและติดตามผลการส่งดำเนินคดีให้พนักงานสอบสวนทุกครั้ง

1.ผู้บังคับบัญชามีการอบรมชี้แจงเจ้าหน้าที่ในสายงานมิให้มีการเรียกรับสินบนจากการปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัด
๒.มีมาตรการควบคุมกำกับดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา ตามคำสั่ง ตร.ที่ ๑๒๑๒/๒๕๓๗ อย่างใกล้ชิด
๓.งานสืบสวน ออกคําสั่งกําชับการปฏิบัติ มอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติให้ชัดเจน ตรวจสอบได้
๔.รอง ผกก.สส.ฯ อบรมชี้แจงข้าราชการฝ่ายสืบสวนให้ปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบข้อบังคับและประมวลจริยธรรมฯ
๕.มีการรายงานผลการปฏิบัติต่อช่องทางการรายงานทุกครั้ง
๖. มีการเพิ่มช่องทางการร้องเรียนทั้งในช่องทางเอกสาร และWebsite
๗.มีการติดตามผลการส่งดำเนินคดีให้พนักงานสอบสวนทุกครั้ง ตลอดปีงบ
ประมาณ รองผู้กำกับการสืบสวน
ที่ งาน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ประเด็นความเสี่ยงต่อการรับสินบน Risk Score รายละเอียดมาตรการควบคุมความเสี่ยงการรับสินบน วิธีดำเนินการ ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ
๕ จราจร เจ้าหน้าที่ตํารวจจราจรออกกวดขันวินัยจราจร พบการกระทําผิดและจับกุมผู้กระทําผิดกฎหมายจราจร การเสนอและรับสินบนจากผู้กระทำความผิด เพื่อแลกกับการไม่ถูกจับกุม หรือออกใบสั่งบริเวณจุดพบการกระทำผิด ๑๕
(สูงมาก) ๑.ผู้บังคับบัญชาอบรม กำชับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ปฏิบัติตามระเบียบกฎหมายอย่างเคร่งครัด มิให้มีการเรียก รับหรือยอมจะรับสินบน ทรัพย์สินหรือ ประโยชน์อื่นใด เพื่อช่วยเหลือผู้กระทำผิด
๒.จัดหาสวัสดิการเพิ่มเติมเพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่
๓.ผู้บังคับบัญชาออกสุ่มตรวจการปฏิบัติงานของจราจรทั้งในตู้บังคับไฟจราจรและในพื้นที่รับผิดชอบ
๔.มีช่องทางรับเรื่องร้องเรียนโดยตรงต่อ ผกก. ๑.ก่อนออกปฏิบัติหน้าที่ หัวหน้างานจราจรต้อง อบรม กำชับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ตำรวจให้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด มิให้มีการเรียก รับ หรือยอมจะรับสินบน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด เพื่อช่วยเหลือผู้กระทำผิด
๒.ผู้บังคับบัญชาออกตรวจตราสอดส่องการปฏิบัติที่ตู้บังคับไฟจราจรและพื้นที่รับผิดชอบตามวงรอบ
๓. จัดหาสวัสดิการ เช่น อาหารกลางวัน ออกเยี่ยมเยียนครอบครัวผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อ สอบถามถึงปัญหาต่างๆ
๔. มีการเพิ่มช่องทางการร้องเรียนทั้งในช่องทางเอกสาร และWebsite ตลอดปีงบ
ประมาณ รองผู้กำกับการจราจร
เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรออกกวดขันการกระทำผิดที่จุดตรวจ การเสนอและรับสินบนจากผู้กระทำความผิด เพื่อแลกกับการไม่ถูกจับกุม หรือออกใบสั่งบริเวณจุดตรวจ ๑๕
(สูงมาก) ๑.ผู้บังคับบัญชาอบรม กำชับการปฏิบัติงาน ของเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมายอย่างเคร่งครัด มิให้มีการเรียก รับหรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือ ประโยชน์อื่นใด เพื่อช่วยเหลือผู้กระทำผิด
2.รอง ผกก.จร.ฯ/สว.จร.ฯ ออกตรวจตราตามจุดอํานวยการจราจรอย่างสม่ำเสมอ
3.ตรวจสอบระบบใบสั่ง PTM ให้มีความถูกต้องตามระเบียบ
4.ดูแลสวัสดิการเจ้าหน้าที่ตํารวจจราจรที่มีความเดือนร้อนทางสถานภาพทางการเงิน
5.มีการดําเนินการทางวินัยและอาญากับเจ้าหน้าที่ตํารวจจราจรที่เรียกรับเงินผลประโยชน์อย่างเฉียบขาด
6.มีช่องทางและระบบการจัดการเรื่องร้องเรียนจากประชาชนที่พบเห็นการกระทําผิดของเจ้าหน้าที่ ๑.ก่อนออกปฏิบัติหน้าที่ หัวหน้างานจราจรต้อง อบรม กำชับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ตำรวจให้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด มิให้มีการเรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด เพื่อช่วยเหลือผู้กระทำผิด
๒.ผู้บังคับบัญชาออกตรวจตราสอดส่องการปฏิบัติที่จุดตรวจตามวงรอบ
๓.จัดหาสวัสดิการ เช่น อาหารกลางวัน ออกเยี่ยมเยียนครอบครัวผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อ สอบถามถึงปัญหาต่างๆ
๔. รอง ผกก.จร./สว.จร. ตรวจหลักฐานการออกใบสั่งเจ้าพนักงานจราจร ตามระบบ PTM และใบเสร็จว่าถูกต้องตรงกัน
๕.รอง ผกก.จร.ฯ/สว.จร.ตรวจสอบเรื่องร้องเรียนเพื่อดําเนินการตามระเบียบอย่างเคร่งครัด
๖.มีช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนทั้งทางเอกสารและ Website
๗.ลงโทษทางวินัยและอาญาเจ้าหน้าที่ตํารวจจราจรที่กระทําผิดเพื่อไม่ให้เป็นแบบอย่างเฉียบขาด ตลอดปีงบ
ประมาณ รองผู้กำกับการจราจร

เรียน ผกก.สภ.หนองไผ่
– เพื่อโปรดทราบ ประเด็นความเสี่ยง
ต่อการรับสินบน และแผนบริหารจัดการความเสี่ยง
ต่อการรับสินบนของ สภ.ฯ ประจำปี ๒๕๖๗
– เพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

พันตำรวจโท
( ภูวดล ทองดี )
สารวัตรอำนวยการ สถานีตำรวจภูธรหนองไผ่
๑๕ ม.ค. ๒๕๖๗
– อนุมัติ
– ให้ดำเนินการศึกษาประเด็นความเสี่ยงต่อการรับสินบนและแผนบริหารจัดการความเสี่ยงต่อการรับสินบนของสถานีตำรวจภูธรหนองไผ่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗

พันตำรวจเอก
( ฐานุพงศ์ แสงซื่อ )
ผู้กำกับการ สถานีตำรวจภูธรหนองไผ่
๑๕ ม.ค. ๒๕๖๗

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *