O22 -คู่มือหรือแนวทางการปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม

ข้อมูล ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567

แนวทางการการปฏิบัติตนของข้าราชการตำรวจตามประมวลจริยธรรมข้าราชการตำรวจ
ข้อ 1 โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 76 วรรคสาม บัญญัติให้รัฐพึงจัดให้มีมาตรฐานทางจริยธรรม เพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้เป็นหลักในการกำหนดประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานนั้นๆ ซึ่งต้องมาตรฐานทางจริยธรรมดังกล่าว และพระราชบัญญัติมาตรฐาน
ทางจริยธรรม พ.ศ.2562 มาตรา 5 ได้กำหนดมาตรฐานทางจริยธรรม ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์การประพฤติปฏิบัติอย่างมีคุณธรรม ของเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อใช้เป็นหลักสำคัญในการจัดทำประมวลจริยธรรมของหน่วยงานของรัฐประกอบกับประมวลจริยธรรมข้าราชการตำรวจ พ.ศ.2564 ข้อ 4 ได้กำหนดให้การจัดทำแนวทางการปฏิบัติตนของข้าราชการตำรวจตามประมวลจริยธรรมข้าราชการตำรวจเป็นไปตามที่คณะกรรมการตำรวจกำหนด
เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าวข้างต้น จึงกำหนดแนวทางการปฏิบัติตนของข้าราชการตำรวจตามประมวลจริยธรรมข้าราชการตำรวจในลักษณะการปฏิบัติที่ควรกระทำและไม่ควรกระทำ (Do’s & Don’ts) ไว้เพื่อเป็นกรอบแนวทางการปฏิบัติให้ข้าราชการตำรวจประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม พร้อมดำรงตนด้วยการกระทำความดีละเว้นความชั่ว ประพฤติปฏิบัติตนเพื่อประโยชน์แก่ตนเอง ผู้อื่น และส่วนรวม และดำรงรักษาไว้ซึ่งคุณธรรมจริยธรรมอย่างเคร่งคัดอยู่เสมอ ดังนี้
หลักการทางจริยธรรม ข้อควรกระทำ (Do’s) ข้อไม่ควรกระทำ (Don’ts)
1.ยึดมั่นในสถาบันหลักของ
ประเทศ อันได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (1.) จงรักภักดีต่อประเทศชาติ
มีความภูมิใจในความเป็นไทย รักษาผลประโยชน์ของชาติ และรักษาความลับเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ
(2.) มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า
(3.) นำหลักธรรมหรือหลักคำสอนตามศาสนาที่ตนเคารพนับถือมาประกอบการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
(4.) ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการปฏิบัติศาสนกิจ สืบทอดและ
ทำนุบำรุงศาสนาให้มีความเจริญยั่งยืน
(5.) แสดงออกถึงความเคารพเทิดทูน และรักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์
(6.) สนับสนุนและมีส่วนร่วมกับกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติในโอกาสต่างๆ (1.) แสดงออกในลักษณะที่ส่อไปในทางดูแคลน หรือด้อยค่าความเป็นไทยอันอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อภาพลักษณ์ของประเทศชาติ
(2.) กระทำการอันอาจมีลักษณะเป็นการกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของชาติ
(3.) แสดงกิริยาวาจาหรืออาการ
ในเชิงลบหลู่ ดูแคลนหรือด้อยค่าศาสนาใดศาสนาหนึ่ง
(4.) ขัดขวางการทำนุบำรุงศาสนา
และการปฏิบัติศาสนกิจทั้งปวง
(5.) แสดงออกด้วยกิริยาอาการหรือวาจาในลักษณะที่ไม่ให้เกียรติหรือไม่จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
(6.) แสดงออกในลักษณะที่ไม่ สนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุข
2.ซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสำนึก ที่ดี
และรับผิดชอบต่อหน้าที่ 1.) ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริตโปร่งใสตรวจสอบได้
(2.) มีจิตสำนึกที่ดีและตระหนัก
ในหน้าที่ของผู้พิทักษ์สันติราษฎร์
(3.) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบโดยคำนึงถึงผลกระทบทางสังคมสิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสิทธิเสรีภาพของบุคคล
(4.) รับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ราชการของตน พร้อมที่จะรับการตรวจสอบและรับผิด
ในผลของการปฏิบัติงานเมื่อเกิดความบกพร่องผิดพลาดขึ้น
(5.) ไม่ใช้ตำแหน่ง อำนาจหรือหน้าที่ หรือไม่ยอมให้ผู้อื่นใช้ตำแหน่งอำนาจหรือหน้าที่ของตน แสวงหาผลประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น
(1.) แสดงถึงพฤติกรรมซึ่งมีนัยเป็น การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ
(2.) กระทำการอันส่อไปในทางที่อาจตีความได้เป็นการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม
(3.) ปฏิเสธ บ่ายเบี่ยง เกี่ยงงอนในการปฏิบัติหน้าที่และอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่มาขอรับบริการ หรือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน
3.กล้าตัดสินใจและการกระทำ
ในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม (1.) ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความถูกต้องชอบธรรมตามกฎหมายและตามทำนองคลองธรรม
(2.) กล้าคัดค้าน เปิดเผยการทุจริต และดำเนินการแก้ไขในสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามอำนาจหน้าที่
(3.) กล้ายีนหยัดกระทำในสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมายและจรรยาวิชาชีพในการปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความกล้าหาญ
(4.) ให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ถูกละเมิดหรือได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมโดยไม่ชักช้า
(5.) เปิดเผยหรือรายงานการทุจริตที่พบเห็นต่อผู้บังคับบัญชาหรือผู้ที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องโดยไม่ปล่อยปละละเลย
(6.) กล้าทักท้วงและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่ตนรู้หรือควรจะรู้ว่าไม่ถูกต้อง หรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย (1.) ปฏิเสธความรับผิดชอบหรือปัดความรับผิดชอบของตนไปให้ผู้อื่นเมื่อเกิดความบกพร่องหรือผิดพลาด
ในการปฏิบัติงานขึ้น
(2.) ปกปิดการทุจริต โดยไม่ดำเนินการในสิ่งที่ถูกต้องตามอำนาจหน้าที่
(3.) เพิกเฉยต่อการกระทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
(4.) ไม่สนใจหรือไม่เอาใจใส่ในการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ถูกละเมิดหรือได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
4.คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่า ประโยชน์ส่วนตัว และมีจิตสาธารณะ (1.) ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยยึดถือประโยชน์ส่วนรวมเหนือกว่าประโยชน์ส่วยบุคคล
(2.) ไม่อาศัยช่องว่างทางกฎหมาย ใช้หรือแนะนำให้ใช้ช่องว่างทางกฎหมายเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น หรือทำให้สูญเสียความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรม
(3.) มีความมุ่งมั่น เสียสละ มีจิตอาสาหรือจิตสาธารณะในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์สุข
ของประชาชน
(4.) อุทิศตนกระทำการอันเป็นประโยชน์ต่อสังคม
(5.) ไม่รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้จากผู้ใด นอกเหนือจากทรัพย์สินหรือประโยชน์อันควรได้ตามกฎหมาย เว้นแต่การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด โดยธรรมจรรยาตามหลักเกณฑ์และจำนวนที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติกำหนด (1.) อาศัยช่องว่างทางกฎหมายใช้ หรือแนะนำให้ใช้ช่องว่างทางกฎหมายเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น หรือทำให้สูญเสียความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรม
(2.) ปฏิบัติตามคำสั่ง คำขอร้อง คำขู่หรืออิทธิพลใด ๆ ในการชักจูงในการกระทำความผิดหรือกระทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องชอบธรรม
(3.) ใช้เวลาราชการหรือทรัพย์สินของทางราชการเพื่อธุรกิจหรือประโยชน์ส่วนตน
(4.) ประกอบอาชีพเสริมซึ่งมีลักษณะเป็นผลประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวม
5.มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน (1.) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ มีประสิทธิภาพ เพื่อให้งานสัมฤทธิ์ผลตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายอย่างแท้จริง
(2.) มีมาตรฐานการทำงานที่ทันสมัยเป็นสากล พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องเชื่อมั่นในระบบการทำงานเป็นทีม
(3.) ให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนด้วยความรวดเร็วเต็มใจ ปราศจากอคติ และไม่เลือกปฏิบัติ
(4.) เปิดเผยและให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเหมาะสม ครบถ้วนแก่ประชาชนและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายและระเบียบที่กำหนด
(5.) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรวดเร็ว กระตือรือร้น รอบคอบ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และเป็นธรรม โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของชีวิตทรัพย์สินของประชาชนเป็นที่ต้อง และรักษาประโยชน์ของรัฐ
(6.) ดูแลรักษาและใช้ทรัพย์สินของทางราชการอย่างประหยัดและคุ้มค่า
(7.) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความวิริยะอุสาหะขยันหมั่นเพียร เสียสละ ใช้ปฏิภาณไหวพริบ กล้าหาญและอดทน
(8.) รักษาความลับของทางราชการและความลับที่ได้มาจากการปฏิบัติหน้าที่หรือจากประชาชนผู้มาติดต่อราชการ 1.) ปฏิบัติหน้าที่โดยหวังเพียงผลงานหรือเพียงเพื่อให้งานเสร็จโดย
ไม่คำนึงถึงผลกระทบหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
(2.) ปฏิเสธ ละเลย หรือเพิกเฉย ในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนหรือบรรเทาทุกข์ให้แก่ประชาชน
(3.) ปิดบังหรือปฏิเสธการให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง เหมาะสมและครบถ้วน แก่ประชาชนและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายและระเบียบที่กำหนด
(4.) ปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า ขาดความกระตือรือร้น รอบคอบ โปร่งใส และไม่เป็นธรรมในการให้บริการแก่ประชาชน
(5.) ไม่เอาใจใส่ต่อการปฏิบัติหน้าที่หลีกเลี่ยงหรือปัดความรับผิดชอบ
6.ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ 1.) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเสมอภาคเป็นธรรม และปราศจากอคติไม่เลือกปฏิบัติ โดยอาศัยเหตุของความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา เพศ อายุ สภาพร่างกาย หรือสถานะทางเศรษฐกิจ สังคมและความเชื่อทางการเมือง

(2.) วางตัวเป็นกลางทางการเมือง
(3.) เคารพสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและตามกฎหมายอื่นโดยเคร่งครัด
(4.) วางตัวเป็นกลางในฐานะผู้รักษากฎหมายในกระบวนการยุติธรรม
(5.) ไม่ใช้ตำแหน่ง อำนาจหรือหน้าที่ หรือไม่ยอมให้ผู้อื่นใช้ตำแหน่งอำนาจหรือหน้าที่ของตนไปในทางจูงใจหรือมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจการใช้ดุลพินิจ หรือการกระทำของข้าราชการตำรวจเจ้าหน้าที่ของรัฐอื่น อันเป็นผลในการตัดสินใจการใช้ดุลพินิจ หรือการกระทำของผู้นั้นสูญเสียความเที่ยงธรรมและยุติธรรม

(1.) อาศัยตำแหน่งหน้าที่ในการอำนวยประโยชน์แก่นักการเมืองหรือพรรคการเมือง
(2.) ปฏิบัติต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ใดบุคคลหนึ่ง เพื่อผลประโยชน์
เรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยความเป็นธรรม
7.ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดีและรักษาภาพลักษณ์ของทางราชการ (1.) ดำรงตนเป็นข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดี รักษาภาพลักษณ์ของความเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ ให้เป็น
ที่เชื่อถือและศรัทธาของประชาชน
(2.) ดำรงชีวิตส่วนตัวไม่ให้เกิดมลทินมัวหมองต่อตำแหน่งหน้าที่ไม่กระทำผิดกฎหมายแม้เห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่หมกมุ่นในอบายมุขทั้งหลายไม่ฟุ้งเฟ้อหรูหราและใช้จ่ายประหยัดตามฐานะแห่งตน
(3.) น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พระบรมราโชวาท หลักคำสอนทางศาสนา และจรรยาวิชาชีพมาใช้ในการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติหน้าที่
(4.) ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของปวงชนชาวไทยเคารพต่อกฎหมาย มีวินัยและรักษาไว้ ซึ่งวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมและประเพณีอันดีงาม
(5.) มีท่าทีเป็นมิตร มีมนุษย์สัมพันธ์อันดีต่อประชาชน ปฏิบัติตนให้เป็นที่เชื่อถือและไว้วางใจของประชาชน ไม่แสดงกิริยาหรือท่าทางไม่สุภาพหรือไม่ให้เกียรติ รวมทั้งไม่ใช้ถ้อยคำกิริยา หรือท่าทางในลักษณะหยาบคายต่อประชาชน
(6.) อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการร้องทุกข์กล่าวโทษ ขออนุญาตขอข้อมูลข่าวสาร หรือติดต่อราชการอื่น ด้วยความเต็มใจ เป็นมิตรและรวดเร็วเพื่อไม่ให้ประชาชนเสียสิทธิหรือเสรีภาพตามกฎหมาย
(7.) เอื้อเฟื้อสงเคราะห์และช่วยเหลือประชาชนเมื่ออยู่ในฐานะที่จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ หรือประสบเคราะห์จากอุบัติเหตุการละเมิดกฎหมาย หรือภัยอื่นๆ ไม่ว่าบุคคลนั้น จะเป็นผู้ต้องสงสัยหรือผู้กระทำผิดกฎหมายหรือไม่
(1.) ประพฤติตนหรือกระทำใดๆ อันอาจเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติภูมิศักดิ์ศรี และภาพลักษณ์ของตนเองและราชการ
(2.) ประพฤติปฏิบัติตนในลักษณะที่ไม่เคารพกฎหมายและรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาน
(3.) แสดงกิริยาอาการหรือพฤติกรรมอันมีลักษณะเป็นการคุกคามทางเพศ

ข้อ 2 ข้าราชการตำรวจพึงยึดถือ ประพฤติปฏิบัติตนตามแนวทางการปฏิบัติตนของข้าราชการตำรวจตามประมวลจริยธรรมข้าราชการตำรวจ ในกรณีที่มีการจัดทำข้อกำหนดจริยธรรม จรรยาวิชาชีพตามกฎหมายและข้อบังคับเพื่อใช้บังคับกับราชการตำรวจในสังกัดเพิ่มเติมจากประมวลจริยธรรม ในข้าราชการตำรวจยึดถือและประพฤติปฏิบัติตามที่กำหนดเพิ่มเติมด้วย
ข้อ 3 ให้ผู้บังคับบัญชาสนับสนุนส่งเสริมให้ข้าราชการตำรวจในสังกัดปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติตนของข้าราชการตำรวจตามประมวลจริยธรรมข้าราชการตำรวจ มาตรฐานทางจริยธรรม พร้อมทั้งสอดส่องดูแลอบรมชี้แจงแนวทางปฏิบัติ ประกอบการขับเคลื่อนด้วยการเป็นแบบอย่างภายใต้หลักการและเหตุผลที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม เพื่อพัฒนาให้ข้าราชการตำรวจมีความประพฤติและการปฏิบัติที่ดีงาม สร้างความเชื่อมั่นศรัทธาและได้รับการยอมรับจากประชาชน
…………………………………………………………..

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *